พิธีแสดงผลสัมฤทธิ์โครงการ "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" ประจำปี 2567
วันที่ 30 กันยายน 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยคณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ธนาคารออมสิน จัดพิธีแสดงผลสัมฤทธิ์โครงการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น "ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น" ประจำปี 2567 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ พัฒนาอิทธิกุล คณบดีคณะวิทยาการจัดการ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม ซึ่งผุ้แทนธนาคารออมสินฝ่ายพัฒนาธุรกิจผุ้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน นำโดย คุุณเกรียงสิทธ์ พงษ์ไพบูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการออมสินภาค 6 ได้กล่าวถึงการสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน จากนั้นนักศึกษาได้นำเสนอกิจกรรมที่ดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อที่จะคัดเลือกกลุ่มที่ดีที่สุดไปแข่งขันต่อในระดับประเทศ ซึ่งมี 5 กลุ่มประกอบด้วย - วิสาหกิจชุมชนตาลโตนด / ทีมฮักเที่ยว นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ธนิดา จอมยิ้ม - วิสาหกิจชุมชนแปลงข้าวใหญ่บ้านหนองพิมวัฒนา / ทีมชวนแดก นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ - วิสาหกิจผู้ผลิตและแปรรูปสมุนไพร อโรคะยาศาล เพื่อสังคม / ทีม Fifth Harmony นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ และ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.สิริิกาญจน์ ทวีพิธานันท์ อาจารย์เจนจิรา เงินจันทร์ และ อาจารย์ชำมะเลียง เชาว์ธรรม - กลุ่มพันธุ์ดีปลูกพืชผักสมุนไพร ข้าว ผลไม้พร้อมแปรรูปพัฒนาสินค้าเพื่อสุขภาพเกษตรอินทรีย์วิถีชาวแม่วงก์ / ทีมเขาชนกัน ไวเนอรี่ นักศึกษาสาขาวิชาการตลาด อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.ธิติยา ทองเกิน - วิสาหกิจชุมชนโรงเรียนชาวนา / ทีมชุมทางสวีท นักศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วิไลลักษณา สร้อยคีรี สำหรับกลุ่มที่ได้คัดเลือกรับการคัดเลือกเป็น "The Best" ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อไปแข่งขันต่อในระดับประเทศ คือ "วิสาหกิจผู้ผลิตและแปรรูปสมุนไพร อโรคะยาศาล เพื่อสังคม" โดยทีม Fifth Harmony นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ คณะวิทยาการจัดการ และ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โครงการนี้เกิดขึ้นจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับธนาคารออมสิน เพื่อดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ประเภทกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP หรือกลุ่มอาชีพในชุมชน พัฒนาในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ มีการบริหารจัดการด้านการตลาด ด้านการเงินและด้านการจัดสวัสดิการเพื่อประโยชน์ของสมาชิกและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืนได้อย่างเหมาะสมในอนาคต